วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนบริหารการสอนประจำหน่วยการเรียนที่ 6

หัวข้อเนื้อหาประจำหน่วย
                หน่วยการเรียนที่ 6 ประกอบด้วยเนื้อหาที่มีหัวข้อดังต่อไปนี้
1.             ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
2.             ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
3.             ประโยชน์อินเทอร์เน็ต
4.             การใช้อินเทอร์เน็ต
5.             ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6.             องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7.             การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                เมื่อจบหน่วยการเรียนนี้นักศึกษาควรจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังต่อไปนี้
1.             อธิบายความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตได้
2.             อธิบายความสำคัญและประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตได้
3.             บอกวิธีใช้อินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
4.             ระบุองค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
5.             อธิบายวิธีเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
            ในหน่วยการเรียนนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง จึงใช้กิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้
1.             การบรรยายประกอบสื่อ
2.             การอภิปราย
3.             การตอบคำถาม
4.             การทำแบบฝึกหัด
5.             การศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน


การวัดและการประเมินผล
                วิธีวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนนี้มีดังนี้
1.             การสังเกตความสนใจ
2.             การซักถามความเข้าใจ
3.             การศึกษาค้นคว้า
4.             การตรวจผลงานที่มอบหมาย
5.             การทำแบบฝึกหัดท้ายบท
6.             การสอบกลางภาคเรียน
7.             การสอบปลายภาคเรียน


















หน่วยที่ 6
อินเทอร์เน็ต

1. ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
                คำว่าอินเทอร์เน็ต มาจากคำเต็มว่า International Network หรือเขียนแบบย่อว่า Internet หมายความว่า เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โนปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากกว่า 60 ล้านเครื่องมาเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน การที่คอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันหลายชนิดจำนวนมากมายทั่วโลกเชื่อมโยงกันได้จะต้องใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอล (Protocol)  เดียวกันจึงจะเข้ากัน และเกณฑ์วิธีที่นำมาใช้กับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่าทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

2. ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
          ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
                ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านการบันเทิง ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
                             2.1 ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
                                                1)  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
                                                2)  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
                                                3)  นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
                                2.2 ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
                                                1)  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
                                                2)  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
                                                3)  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
                                                4)  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่างๆให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
                                2.3 ด้านการบันเทิง อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
                                                1)  การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
                                                2)  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
                                                3)  สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์มาดูได้

3. ประโยชน์อินเทอร์เน็ต
                ในการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านด้วยกันสามารถสรุปที่สำคัญได้ดังนี้
1.       ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร  สะดวกและรวดเร็ว
2.       ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
3.       ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4.       สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.       ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกมส์ เป็นต้น
6.       ใช้สื่อสารด้วยข้อความ ซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการพิมพ์ข้อความ      โต้ตอบ
7.       ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.       ซื้อขายสินค้าและบริการ

4. การใช้อินเทอร์เน็ต
                การใช้งานอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้สามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่เราเรียกว่า ไอเอสพี (ISP หรือ Internet Service Provider)โดยการติดต่อขอใช้บริการผ่านตัวแทนไอเอสพีต่าง ๆ ได้โดยตรง  สำหรับประเทศไทยเรามีไอเอสพีอยู่มากกว่า  15 แห่ง ซึ่งไอเอสพี  คือบริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต  รวมถึงศูนย์คอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาด้วย  จะทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายจากประเทศไทยไปต่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายดาวเทียมหรือสายใยแก้วนำแสงของการสื่อสารแห่งประเทศไทย  ตัวอย่างไอเอสพีในประเทศไทย  มีดังนี้
1)            บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย ชื่อเว็บไซต์ www.inet.co.th
2)            บริษัท ล็อกซ์เล่ย์  อินฟอร์เมชัน ชื่อเว็บไซต์ www.loxinfo.co.th
3)            บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ชื่อเว็บไซต์ www.ksc.net.th
4)            บริษัท สามารถอินโฟเน็ต จำกัด ชื่อเว็บไซต์ www.samart.co.th
5)            บริษัท เอ-เน็ต จำกัด ชื่อเว็บไซต์ www.a-net.net.th
               
                ถ้าเราต้องการใช้บริการจากตัวแทนของหน่วยงานใด  เราก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกเพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตนั้น  โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมงหรือรายเดือนก็ได้  นอกจากนี้หลายบริษัทได้จัดทำชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปออกจำหน่ายด้วย  สามารถซื้อได้จากตัวแทนทั่วไป

5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                การติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต  เพื่อใช้บริการต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต สามรถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
5.1           การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์โมเดม  (Modem) ไปยังเอสไอพีที่เราเป็นสมาชิกอยู่  โมเดม คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง  และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้   โดยปกติเราใช้วิธีการนี้ติดต่อจากที่บ้านหรือที่ทำงานที่ไม่มีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงถึง  ความเร็วของการติดต่อขึ้นอยู่กับโมเด็ม  ปัจจุบันมีความเร็วขนาด  64 กิโลบิตต่อวินาที




             ภาพที่ 6.1 การติดต่อโดยใช้สายโทรคัพท์ผ่านอุปกรณ์โมเด็ม



1.1           การติดต่อผ่านเครือข่ายแลน  วิธีนี้จะสะดวกมากกว่าวิธีอื่นการรับส่งข้อมูลมีความเร็วสูง     นิยมใช้ในหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่  เช่น  มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวงกรมต่าง ๆ ใช้งานได้พร้อมกันครั้งละหลาย ๆ คน โดยหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายสัญญาณใยแก้วนำแสงหรือสายวงจรเช่า  (leased line) กับไอเอสพี


6. องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                การให้บริการอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา  สามารถสรุปที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุดดังต่อไปนี้
1)            การให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide  Web หรือ www) เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้น สามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
2)            การให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นบริการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมลล์ ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที จดหมายที่ส่งจะเป็นข้อมูล เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ก็ได้
3)            การแลกเปลี่ยนข่าวสารแบบกลุ่ม (Unsent Newsgroup) เป็นบริการที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถอภิปรายโต้ตอบกันได้ มีการจัดหัวข้อให้แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม ๆ เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้สนใจด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้สนใจด้านการเมือง และอื่น ๆ ทุกคนจากทั่วโลกสามรถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง
4)            การซื้อขายสินค้าและบริการ (Electronic Commerce หรือ E-Commerce) เป็นบริการที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต เป็นธุรกิจที่นิยมในปัจจุบัน สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถสืบค้นหาของที่ตนต้องการซื้อ ตรวจสอบราคา รวมถึงรายละเอียดและการสั่งซื้อ ได้โดยตรงจากที่บ้านหรือสำนักงาน
5)            การบริการการโอนถ่ายข้อมูล (Internet Relay Chat หรือ IRC) เป็นบริการโอนถ่ายข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก นำเสนอมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ทำให้สามารถนำข้อมูลหรือโปรแกรมที่ต้องการจากเครือข่ายมาใช้งานได้
6)            การสื่อสารโต้ตอบด้วยข้อความ (Internet Relay Chat หรือ IRC) เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในส่วนต่าง ๆ ของโลกสามารถติดต่อพูดคุย โต้ตอบด้วยข้อความผ่านระบบอินเทอร็เน็ต เราสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน หรือเป็นกลุ่มบุคคลพร้อมกันก็ได้เป็นการโต้ตอบในเวลาเดียวกันขณะนั่งทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น โปรแกรมที่ใช้ที่นิยมกันมากในขณะนี้ได้แก่โปรแกรม ไอซีคิว (ICO)


7. การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน  บริษัท หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็ว ในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย



ภาพที่ 6.2 การเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ
                                ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)

หรือที่เรียกกันว่า ไอเอสพี จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้ ดังนั้น ISP ก็เปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถเข้าไปยัง ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต 

                                การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการ

ใช้งานดังนี้

                                1)  การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย
                                2)  การเชื่อมต่อส่วนบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account


                                TCP/IP : ภาษาหลักในอินเทอร์เน็ต

                                ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน  ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol) สำหรับโปรโตคอลเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อม ๆ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
                                หลักการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นเป็นส่วนย่อย ๆ (เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet ) และส่งไปตามเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ตเหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
                                รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่ได้ โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่  เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน

                                SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์
                                ในการส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ 6 สาย ในระบบ LAN และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงต้องมีโปรโตคอล เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งได้แก่ โปรโตคอล SLIP (Serial Line Internet Protocol) และ PPP (Point-to-Point Protocol) ซึ่งทำงานบน TCP/IP อีกทีหนึ่ง

                                SLIP
                                โปรโตคอล SLIP ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์เพื่อส่งผ่านข้อมูลระหว่างระบบแลน (LAN) กับระบบแวน (WAN) ได้ซึ่งก็ได้รับความนิยม และเป็นที่ใช้ กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในระบบ UNIX ได้นำโปรโตคอลนี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX จะมีโปรโตคอล SLIP อยู่ในตัวและสามารถใช้งานได้ทันที

                                PPP
                                เนื่องจากปรากฎว่าโปรโตคอล SLIP เกิดมีปัญหาไม่เข้ากันกับโปรโตคอลบางตัวที่ระบบแลน (LAN) นั้นใช้อยู่เดิมจึงได้มีการพัฒนาโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ในชื่อ PPP เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้นPPP จึงเป็นโปรโตคอลที่สามารถใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่น ๆ ได้ดี อีกทั้งยังเพิ่ม ระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และการบีบอัดข้อมูลซึ่งทำงานได้ดีกว่า SLIP และก็คงถูกใช้เป็นมาตรฐานต่อไป

                                IP address : ระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์
                                อาจสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตว่า รู้จักที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างไรลักษณะก็จะเหมือนกับเมื่อเราต้องการหาบ้านหลังหนึ่งในเมือง ขนาดใหญ่ไห้พบ เราต้องทราบข้อมูล เช่น บ้านเลขที่ ถนน ตำบล เป็นต้น ในอินเทอร์เน็ต ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราก็จะต้องการที่อยู่ของ เครื่องนั้นๆ บนอินเเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า ไอพี แอดเดรส (IP address)

                                IP address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก โดยประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดต่อกัน  โดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์ แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255

                                           ตัวอย่าง :    IP address             208.49.20.16
                               
                                เนื่องจาก IP address เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน  จึงได้เกิดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล เรื่องการจัดสรรIP address โดยตรง หน่วยงานนี้มีชื่อว่า interNIC (Internet Network Information Center)  สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆไปจะได้รับ IP address จากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) 

ซึ่งได้ทำการขอ IP address เตรียมไว้ ล่วงหน้าแล้ว



                                Domain Name : อินเทอร์เน็ตแอตเดรส

                                ถึงแม้การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แต่เนื่องจากเป็นชุดตัวเลขที่จดจำ ได้ยาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญาหาดังกล่าง จึงได้มีการนำอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ โดเมนเนมมาใช้ กล่าวคือการนำตัวอักษรที่จำได้ง่ายมาใช้แทน IP address อินเทอร์เน็ตแอตเดรสจะไม่ซ้ำกันและเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน ดังนั้นโดเมนเนม มักนิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัท หรือชื่อองค์กรผู้เป็นเจ้าของเหล่านี้เป็นต้น

                                                                208.49.20.16  < --------------->  www.srithai.com
                                                                (IP Address)                                (โดเมนเนม)

                                แม้ว่าเราใช้โดเมนเนม  แต่เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตใช้ IP address จึงต้องมีการแปลงโดเมนเนมกลับไปเป็น IP address โดยจะมีการจัดตั้ง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะที่มีชื่อเรียกว่า DNS Serve

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

1.             อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่าไร
2.             จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
3.             จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
4.             การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
5.             ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
6.             จงอธิบายลักษณะของ E-mail ว่ามีลักษณะอย่างไร